วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำสอนส่างลอง




พระสงฆ์เป็นผู้ทำพิธีบรรพชาและอุปสมบท ซึ่งเมื่อให้คำสอนแก่ส่างลองและส่างลองได้เป็นสมาเณร ประเพณีและพิธีกรรมการบวชส่างลองก็ยุติเสร็จสิ้น พระอุปัชฌายะผู้ประกอบพิธีพึงสอนผู้ขอบรรพชาอุปสมบทดังนี้ “บัดนี้ตัวเจ้ามาขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาควรปลูกศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เป็นผู้ตั้งศาสนา และทรงอนุญาตการบรรพชาอุปสมบทอันนี้เบื้องต้นที่จะปลูกศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสนั้น ต้องศึกษาให้รู้จักพระพุทธเจ้าว่ามีคุณความดีอย่างไร เสียก่อนฯ

พระพุทธเจ้านั้นมีคุณความดี คือมีพระปัญญาปรีชาฉลาด รอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นทั้งคุณและโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ตลอดถึงอริยสัจจ์ 4 ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน ส่วนนี้พระปัญญาคุณ ทรงละสิ่งที่เป็นโทษ คืออาสวกิเลสเครื่องเศร้าหมองได้หมด กับทั้งวาสนา คือกิริยา กาย วาลาที่กิเลสอบรมมานาน ทรงบริบูรณ์ด้วยความดีที่เป็นคุณธรรมโดยอเนกประการ ส่วนนี้เป็นพระบริสุทธิคุณ มีพระบวรสันดานที่เต็มไปด้วยความเมตตากรุณา ในหมู่สัตว์ซึ่งเร่าร้อนอยู่ด้วยเพลิงกิเลสและกองทุกข์ ทรงแสดงธรรมสั่งสอนให้สัตว์ได้ฟังแล้วปฏิบัติตาม ดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์เสียได้ มิได้ทรงเห็นแก่ความลำบากทุกข์ยากเหน็ดเหนื่อยของพระองค์ ส่วนนี้พระกรุณาธิคุณ ฯ

ท่านผู้ดำรงในพระคุณทั้งสามประการนี้ว่า พระพุทธเจ้าแผลว่าท่านผู้รู้ดีรู้ชอบ ฯ เมื่อพระพุทธเจ้ารู้ดีรู้ชอบเช่นนี้แล้ว ทรงเอ็นดูกรุณาในหมู่สัตว์ จึงได้ทรงแสดงธรรมแนะนำสั่งสอนประกาศข้อปฏิบัติคือศีล สมาธิ ปัญญา ฯ ความรักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ ไม่ประพฤติล่วงกิเลสอย่างหยาบ ที่จะพึงกระทำด้วยกายวาลา ชื่อว่าศีล ฯ ความรักษาใจให้บริสุทธิ์คือเพ่งใจไว้ในอารมณ์เดียว ไม่ให้เกาะเกี่ยวเศร้าหมองด้วยนิวรณ์ทั้ง 5 ชื่อว่าสมาธิ ฯ ความทำทิฐิความเห็นให้ซื่อตรงตามความเป็นจริงชื่อว่าปัญญา ฯ

ทั้งสามประการนี้รวมเรียกสั้น ๆ ว่า พระธรรมเพราะเป็นสภาพที่ผู้ทรงปฏิบัติไว้ให้เป็นคนดี ไม่ให้เป็นคนชั่วและให้ตั้งอยู่ในที่ดี มิให้ตกไปในที่ชั่ว มีทุคคติอบายเป็นต้น ฯ หมู่ชนที่ได้สดับธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งใจปฏิบัติตามศีลสมาธิปัญญา ทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ จนละอาสวกิเลสให้ขาดจากสันดาน โดยเอกเทศบ้าง โดยสิ้นเชิงบ้างโดยชั่วคราวบ้าง เรียกว่าพระสงฆ์ เพราะเป็นหมู่เป็นพวกที่ประพฤติเสมอเหมือนกัน ด้วยศิล และทิฏฐิ ฯ

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ผู้จะมาขอบรรพชาอุปสมบท ต้องตั้งใจถึงสรณะที่พึ่งที่เคารพนับถือเสียก่อน เพราะเหตุนี้(ตัวเจ้า) จงตั้งใจในบัดนี้ว่า บัดนี้ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่ระลึกเคารพนับถือของข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นสรณะที่เคารพนับถือของข้าพเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นสรณะที่ระลึกเคารพนับถือของข้าพเจ้า ฯ เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกเคารพนับถือดังนี้แล้ว ก็ควรได้บรรพชาอุปสมบทต่อไปฯ

อนึ่ง พึงรู้จักหน้าที่ของการบรรพชาอุปสมบทนั้นว่ามีประโยชน์อย่างไร เมื่อจะกล่าวให้เห็นง่าย ๆ ก็คือ มีประโยชน์ที่จะได้ตั้งหน้าเล่าเรียนศึกษาแล้วปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา รักษากายวาจาใจทิฏฐิ ทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีได้ง่าย เพราะเป็นคฤหัสถ์มีกิจกังวลห่วงใย ยากมากที่จะทำได้ ทั้งตั้งอยู่ในที่ใกล้กับอารมณ์ที่ล่อจิตให้เกิดความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ความหลงบ้าง ความเมามัวบ้าง ไม่เป็นทางที่จะประพฤติปฏิบัติทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีได้ง่าย ๆ ส่วนบรรพชาถือเพศเป็นบรรพชิต ละกิจกังวลห่วงใย ทั้งตั้งอยู่ในที่ห่างไกลจากอารมณ์เช่นนั้น เป็นทางที่จะประพฤติปฏิบัติทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จากอาสวกิเลสได้ง่ายแต่มิใช่ได้อุปสมบทแล้ว กิเลสอาสวะหมดสิ้นไปเองก็หาไม่ต้องอาศัยตั้งใจปฏิบัติขัดเขลากิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกาย วาจาด้วยศีลแล้วตั้งใจปฏิบัติขัดเกลากิเลสอย่างกลาง คือนิวรณ์ทั้ง 5 ที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตทำให้เศร้าหมอง ด้วยสมาธิคือเพ่งใจไว้ในอารมณ์อันเดียวแล้วหมั่นปฏิบัติขัดเกลากิเลสอย่างละเอียดสุขุม อันเกิดขึ้นทำทิฏฐิ ความเห็นให้ผิดวิปริตไปจากความจริงด้วยปัญญา คือความรู้จริงเห็นจริง ศีลที่ต้นนั้นก็จะได้ถึงด้วยการบรรพชาอุปสมบทอันนี้ ๆ

ต่อไปจงตั้งใจเรียนพระกรรมมัฏฐาน ตามแบบโบราณาจารย์แต่ปางก่อนที่ได้สอนกันสืบ ๆ มาเป็นอุบาย สำหรับจะทำสมาธิให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นที่ตั้งของปัญญาต่อไป จงศึกษาไปตามแบบบาลีดังนี้ก่อน เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ นี้เรียก่าอนุโลมคือว่าไปตามลำดับแล้วถอยกลับเข้ามาเป็นปฏิโลม ว่า ตะโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ฯ จงศึกษาให้รู้เนื้อความ เกสา คือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ งอกขึ้นศีรษะเบื้องหน้าเพียงหน้าผาก เบื้องท้ายเพียงปลายคอต่อ เบื้องขวามีหมวกหูทั้งสองข้างเป็นที่สุดได้แก่ผม ฯ โลมาคือสิ่งที่เป็นเส้น ๆ ยกเกสาเสีย งอกขึ้นทั่วสรรพางค์กาย ยกเว้นฝ่ามือ ฝ่าเท้าได้แก่ ขน ฯ นขา คือสิ่งที่เป็นเกล็ดเกล็ด งอกขึ้นตามปลายมือปลายเท้าครบทุกแห่ง ได้แก่เล็ก ฯ ทันตา คือกระดูกที่เป็นซีก ๆ งอกขึ้นที่คางเบื้องล่างเบื้องบน สำหรับบดเคี้ยวอาหาร ได้แก่ฟัน ฯ ตะโจ คือสิ่งที่หุ้มอยู่ทั่วตัวได้แก่หนัง ฯ เมื่อรู้จักสิ่งที่ 5 อย่างนี้แล้ว พิจารณาอย่างไร จึงจะเป้นพระกัมมัฏฐาน ถ้าพิจารณาว่า เป็นของดีของงามน่ารักใคร่พึงใจ ก็ไม่เป็นพระกัมมัฏฐาน เพราะการพิจารณาเช่นนั้น เป็นเหตุที่จะทำความกำหนัดยินดี ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นเป็นปัจจัยที่จะยั่วยวนกิเลสเช่นนั้นก็เกิดขึ้นแล้วแก่กล้ามากขึ้นต่อเมื่อพิจารณาว่าเป็นของไม่ดีไม่งาม ไม่น่ารักใคร่พึงใจเป็นของโสโครก ปฏกูลตามที่เป็จริงอย่างไรนั่นแหละเป็นพระกัมมัฏฐาน เพราะการพิจารณาเช่นนั้นเป็นเหตุที่จะห้ามความกำหนัดยินดี ซึ่งยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เป็อุบายที่จะปราบปราบกิเลสเช่นนั้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วให้สงบน้อยถอยเบาบางลงไปจากสันดานทั้งจะเป็นปทัฏฐานเหตุที่ตั้งให้เกิดปัญญาความรู้จริงเห็นจริงว่าผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กับร่างกายชีวิตจิตใจอันนี้ ก็เป็นแต่สักว่าธาตุอันหนึ่งๆมาประชุมรวมเข้ากัน ล้วนเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนคงที่อยู่เสมอเป็นทุกข์มีความเสื่อมสิ้น พิบัติแปรปรวนไปตามธรรมดาและเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด มิใช่ตัวตนมิใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนแก่นสารคนเรา เมื่อปัญญาความรู้จริงเห็นเกิดขึ้นแล้ว ก็จะละวางอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่นเสียได้ เมื่ออุปทานไม่มีแล้วจิตก็พ้นจากอาสวะกิเลส เป็นอันได้บรรลุถึงธรรมพิเศษ คือนฤพาน ซึ่งเป็นธรรมชาติดับกกิเลสและกองทุกข์ อันเป็นผลที่สุดในพระธรรมะวินัย เหตุฉะนั้น(ตัวเจ้า)จงตั้งใจมุ่งต่อพระนฤพานดังเช่นว่าขอบรรพชาอุปสมบทต่อไปฯ


cr :http://th.wikipedia.org/wiki/ประเพณีปอยส่างลอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น