ประเพณีปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊






ประเพณีปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊

     การจัดงานประเพณี “ปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊”(หลู่ หมายถึง ถวายหรือให้ทาน) หรือการถวาย ข้าวเหนียวแดง คือ กิจกรรมประเพณีที่เกิดขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจาก การทำไร่ทำนา และได้ผลผลิต หรือเรียกว่า ได้ข้าวใหม่ ก็จะเอาข้าวใหม่นี้ไปทำบุญในรูปข้าวหย่ากุ๊ ในการหลู่ข้าวหย่ากู๊นั้นชาวบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งไปถวายพระภิกษุ สามเณร และส่วนที่เหลือทั้งหมดจะนำไปตาน (ให้ทาน ) คนเฒ่าคนแก่ที่บุคคลนั้นๆ ให้ความเคารพนับถือหรือ แจกเป็นทานในหมู่บ้านหรือตามบ้านญาติสนิทมิตรสหาย เพราะเชื่อกันว่าการหลู่ข้าวหย่ากู๊มีนี้จะได้บุญกุศล ซึ่งนิยมทำติดต่อกัน 3 ปี บางแห่งจะรวมตัวกันจัดงาน ในสมัยก่อนมีการแห่ขบวนข้าวหย่ากู๊ โดยใช้เกวียนบรรทุกข้าวหย่ากู๊แห่ไปทั่วหมู่บ้านซึ่งเกวียนจะประดับตกแต่งขบวนอย่างสวยงาม มีการละเล่นดนตรีพื้นบ้านและการฟ้อนรำเพื่อเพิ่มความสนุกสนานแต่ปัจจุบันนิยมใช้รถยนต์บรรทุก 4 ล้อแทนเกวียนในการให้ทานข้าวหย่ากู๊แทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น